นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า ได้ประชุมติดตามเร่งรัดการดำเนินโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง เพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพฯ-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา) หรือโครงการรถไฟความเร็วสูง ไทย-จีน ให้เป็นไปตามเป้าหมาย และแผนงาน รวมถึงเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาอุปสรรค เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยส่งเสริมการพัฒนา กระจายความเจริญ สร้างโอกาสอันดีแก่ประเทศไทยในการเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ด้วยรถไฟความเร็วสูง ควบคู่ไปกับการส่งเสริมคุณค่าอันโดดเด่นให้เหมาะสมกับบริบทของแต่ละจังหวัด
นายศักดิ์สยาม กล่าวต่อว่า สำหรับโครงการระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทางประมาณ 253 กิโลเมตร (กม.) มีสถานีทั้งหมด 6 สถานี ประกอบด้วย สถานีกลางบางซื่อ สถานีดอนเมือง สถานีอยุธยา สถานีสระบุรี สถานีปากช่อง และสถานีนครราชสีมา แบ่งสัญญางานโยธา เป็น 14 สัญญา ก่อสร้างแล้วเสร็จ 1 สัญญา อยู่ระหว่างก่อสร้าง 9 สัญญา เตรียมการก่อสร้าง 1 สัญญา และอยู่ระหว่างจัดซื้อจัดจ้าง 3 สัญญา
โดยรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน จะใช้ระบบรถไฟใช้ประเภทรถโดยสาร EMU (Electric Multiple Unit) กำลังขับเคลื่อนสูงสุด 5,200 กิโลวัตต์ มีความจุของขบวนรถ 600 ที่นั่งต่อขบวน ที่ความเร็วสูงสุด 250 กม.ต่อชั่วโมง (ชม.) ใช้เวลาเดินทางจากกรุงเทพฯ ถึงนครราชสีมา 1 ชั่วโมง 30 นาที ถือเป็นการยกระดับมาตรฐานรถไฟไทย ให้มีความเจริญก้าวหน้า เป็นการลงทุน เพื่อวางรากฐานความมั่นคงด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมของไทยในระยะยาวคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
นายศักดิ์สยาม กล่าวอีกว่า ได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการในประเด็นโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ที่ยังมีประเด็นในสัญญา 3-1 ช่วงแก่งคอย-กลางดง และช่วงปางอโศก-บันไดม้า, สัญญา 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง และสัญญา 4-5 ช่วงบ้านโพ-พระแก้ว โดยให้ รฟทคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. พิจารณาดำเนินการให้เป็นไปตามหลักกฎหมายอย่างเคร่งครัดให้แล้วเสร็จภายในเดือน ก.ค.65 เพื่อให้สามารถดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จตามกำหนดการของโครงการ
พร้อมกันนี้ได้กำชับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เร่งดำเนินโครงการให้เป็นไปตามแผนงาน เพื่อผลักดันให้ระบบรางเป็นระบบหลักในการเดินทางและการขนส่งของประเทศ สอดคล้องกับเป้าหมายของรัฐบาลในการพัฒนาตามยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี สนับสนุนให้ประเทศไทย เป็นศูนย์กลางด้านคมนาคมขนส่งและโลจิสติกส์ของภูมิภาค สร้างศักยภาพและโอกาสใหม่ทางการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว รวมถึงสนับสนุนการขยายตัวของเมืองและพื้นที่เศรษฐกิจโดยรอบเส้นทาง เกิดการกระจายความเจริญอย่างทั่วถึง และลดความเหลื่อมล้ำของประเทศไทยต่อไป.