หนี้สินครัวเรือนขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยในไตรมาสสอง ปี 2566 โดยมีมีมูลค่า 16.07 ล้านล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 3.6 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งตามข้อมูลพบว่าสินเชื่อเกือบทุกประเภทขยายตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งหนี้สินครัวเรือนที่ขยายตัวมาจากหนี้เพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์และหนี้เพื่ออุปโภคบริโภคส่วนบุคคลเป็นหลัก เนื่องจากเป็นหนี้ที่มีสัดส่วนมากเป็น 2 อันดับแรกของหนี้สินครัวเรือนทั้งหมด

หนี้ครัวเรือนไตรมาส 2 ขยายตัวเพิ่ม 3.6 %

เช็กที่นี่ แบงก์ไหนปรับก่อน ขั้นต่ำบัตรเครดิต 8% เริ่ม 1 ม.ค.67

โดยในไตรมาสสอง ปี 2566

  • สินเชื่อเพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์ ขยายตัวร้อยละ 4.9 ใกล้เคียงกับไตรมาสที่ผ่านมา ตามความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยที่ทยอยฟื้นตัวแม้จะมีปัจจัยกดดันจากต้นทุนการกู้ยืมหรืออัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่สูงขึ้น
  • สินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคลอื่น ขยายตัวร้อยละ 5.5 ปรับเพิ่ม จากไตรมาสก่อนที่อยู่ที่ร้อยละ 5.4 สอดคล้องกับความเชื่อมั่น ของผู้บริโภคที่ปรับตัวดีขึ้น สะท้อนจากการใช้จ่ายในสินค้าไม่คงทน ที่เร่งตัวสูงขึ้น
  • สินเชื่อบัตรเครดิตขยายตัวร้อยละ 2.5 ชะลอลง จากร้อยละ 5.7
  • สินเชื่อยานยนต์ขยายตัวร้อยละ 1.0 จากการปรับ เงื่อนไขการปล่อยกู้ที่เข้มงวดขึ้น

จับตาหนี้เสียสินเชื่อยานยนต์เพิ่มขึ้น

สำหรับสินเชื่อยานยนต์ พบว่า หนี้เสียเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะหนี้ยานยนต์ โดยในไตรมาสสอง ปี 2566 หนี้เพื่อการอุปโภคบริโภคที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ของธนาคารพาณิชย์ มีมูลค่า 1.47 แสนล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 2.71 ต่อสินเชื่อรวมเพิ่มขึ้น จากร้อยละ 2.68 จากไตรมาสก่อน

ซึ่งประเภทสินเชื่อที่มีปัญหามากขึ้นคือ สินเชื่อยานยนต์ที่เริ่มเห็นหนี้ NPL เพิ่มขึ้น

โดยหนี้เสียคงค้างของสินเชื่อยานยนต์ขยายตัวสูงถึง ร้อยละ 40.9 หรือมีสัดส่วนต่อสินเชื่อรวมอยู่ที่ร้อยละ 2.05 เพิ่มขึ้น จากร้อยละ 1.89 ของไตรมาสที่ผ่านมา ขณะที่สัดส่วนดังกล่าว ของสินเชื่อประเภทอื่นกลับทรงตัวหรือลดลง

นอกจากนี้ เมื่อพิจารณา หนี้ที่มีการค้างชำระ 1 – 3 เดือน พบว่า ภาพรวมสัดส่วนต่อสินเชื่อรวมทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 6.7 แต่สินเชื่อยานยนต์ ยังเป็นสินเชื่อประเภทเดียวที่มีสัดส่วนดังกล่าวยังเพิ่มขึ้นโดยอยู่ที่ร้อยละ 14.4 เพิ่มต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่เจ็ดติดต่อกันคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

 หนี้ครัวเรือนโต-หนี้เสียรถยนต์น่าห่วง พุ่ง 1.47 แสนล้าน

มาตรการพักหนี้เกษตรกรไทยติดกับดักหนี้

ปัจจุบันรัฐบาลอยู่ระหว่างการดำเนินมาตรการพักชำระหนี้เกษตรกรซึ่งจำเป็นต้องดำเนินการควบคู่กับการยกระดับรายได้ โดยการศึกษาของสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ เกี่ยวกับผลกระทบของมาตรการพักหนี้เกษตรกรในช่วงปี 2557 – 2566 ผ่านข้อมูลลูกหนี้รายย่อยของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร พบว่า

มาตรการพักหนี้ของภาครัฐไม่สามารถลดหนี้ของเกษตรกรได้เพราะเกษตรกรที่เข้าร่วมมาตรการฯ มากกว่า 3 ใน 5 จะก่อหนี้ใหม่ เนื่องจากรายได้ในการทำการเกษตรไม่เพียงพอกับการใช้จ่ายและการทำการเกษตรในฤดูกาลถัดไป

สอดคล้องกับข้อมูลการสำรวจเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ในปี 2564 ที่พบว่า ครัวเรือนเกษตร ขาดทุนหรือมีรายได้จากการทำการเกษตรต่ำกว่า 5,000 บาทต่อเดือน ถึงร้อยละ 25.6 หรือคิดเป็นจำนวน6.6 แสนครัวเรือน

มูลค่าหนี้เสียยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

อย่างไรก็ตาม สศช. มองว่าการเร่งดำเนินมาตรการปรับโครงสร้างหนี้แก่ลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19หากพิจารณาหนี้เสียหรือลูกหนี้ที่ค้างชำระเกิน 90 วัน เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ COVID-19 จากข้อมูลเครดิตบูโร พบว่า มูลค่าหนี้เสียยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

ไตรมาสสอง ปี 2566 มีมูลค่าหนี้เสียคงค้าง 3.7 แสนล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 22.0 จากไตรมาสก่อน และมีจำนวนบัญชีหนี้เสียเพิ่มขึ้นเป็น 4.9 ล้านบัญชีจาก 4.4 ล้านบัญชี เมื่อเทียบกับไตรมาสหนึ่ง ปี 2566 ซึ่งต้องมีการดำเนินมาตรการปรับโครงสร้างหนี้แก่ลูกหนี้ในกลุ่มนี้อย่างต่อเนื่องเพื่อให้สามารถกลับมาชำระคืนหนี้ได้เป็นปกติ

ลอยกระทง 2566 วันไหน มีตำนานประวัติความเป็นมาอย่างไร?

สุดสลด! “วิวาห์เลือด” เจ้าบ่าวรัวยิงเจ้าสาว-แม่ยาย-ญาติ ตาย 5 สาหัส 1

“อามาเทราสุ” อนุภาคปริศนาตกลงมายังโลกจากพื้นที่ว่างเปล่าในอวกาศ

By admin