จากกรณีศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาเพิกถอนใบอนุญาตก่อสร้างคอนโดมิเนียมหรู “แอชตัน อโศก” (Ashton Asoke) กรณีไม่มีทางออกติดถนนสาธารณะตามที่กฎหมายกำหนดนั้น
ทีมข่าวได้สอบถาม อาจารย์วีรพัฒน์ ปริยวงศ์ นักกฎหมายอิสระ มองว่าข้อโต้แย้งของ บริษัท อนันดา ดีเวลล้อปเม้นท์ จำกัด มหาชน เจ้าของคอนโดมิเนียมแอชตันอโศก นั้น ถือว่ามีน้ำหนักเนื่องจากได้รับผลกระทบจากหน่วยงานรัฐที่ถูกฟ้องซึ่งเป็นผู้อนุญาตให้ก่อสร้างโครงการได้ จึงถือว่าเอกชนดำเนินการก่อสร้างอย่างสุจริตถูกต้องมาตั้งแต่ต้น
อาจารย์วีรพัฒน์ บอกว่า กรณีนี้ต้องเข้าใจว่าบริษัทฯไม่ได้เป็นฝ่ายถูกฟ้องโดยตรงและศาลไม่ได้ตัดสินว่า บริษัทฯก่อสร้างโครงการผิดกฎหมาย ศาลมุ่งไปที่ความผิดของเจ้าหน้าที่รัฐ หากเทียบเคียงกับหลักกฎหมายเป็นไปตามหลักที่เรียกว่า “ความได้สัดส่วนและความสุจริต” ดังนั้นคำพิพากษาที่ออกมาจึงค่อนข้างมีปัญหา
ลูกบ้านกังวลคำพูดจาก เว็บสล็อตแท้! หวั่นทุบ “Ashton Asoke” หลังศาลสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
จ่อร้อง "ผู้ว่าฯชัชชาติ" เอาผิดเจ้าหน้าที่ กทม. เอี่ยวปมแอชตันอโศก
โดยเฉพาะประเด็นที่มีการตีความว่า รฟม. ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินอนุญาตให้เอกชนใช้พื้นที่เพื่อแลกกับผลประโยชน์นั้นเป็นการใช้ที่ดินผิดวัตถุประสงค์หรือไม่ อาจารย์วีรพัฒน์มองว่า ศาลอาจจะตีความคำว่าการใช้ที่ดินเพื่อประโยชน์สาธารณะในมุมของรัฐ แต่กรณีนี้อาจจะต้องมองด้วยว่า มีประชาชนซื้อคอนโดไปมากกว่า 500 ครัวเรือน เมื่อคำพิพากษาออกมาในลักษณะนี้ก็ถือว่ากระทบต่อประโยชน์สาธาณะของผู้ซื้อจำนวนมากได้เช่นกัน
เมื่อศาลมีคำสั่งออกมาแล้วเท่ากับว่าคดีถึงที่สุด ทางบริษัทฯและผู้ซื้อจะหากทางออกอย่างไร อาจารย์วีรพัฒน์ บอกว่า การฟ้องร้องคดีต่ออาจจะต้องอาศัยกฎหมายรัฐธรรมนูญ มาตรา 58 เกี่ยวกับการคุ้มครองเสรีภาพของประชาชนกรณีที่ได้รับผลกระทบจากรัฐ
โดยมาตรา 58 ระบุว่า การดำเนินการใดของรัฐหรือที่รัฐจะอนุญาตให้ผู้ใดดำเนินการ ถ้าการนั้นอาจมีผลกระทบต่อธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม สุขภาพ อนามัย คุณภาพชีวิต ของประชาชน รัฐต้องดำเนินการให้มีการศึกษาและประเมินผลกระทบ และจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาดำเนินการหรืออนุญาตตามที่กฎหมายบัญญัติ บุคคลและชุมชนย่อมมีสิทธิได้รับข้อมูล คำชี้แจง และเหตุผลจากหน่วยงานของรัฐก่อนการดำเนินการหรืออนุญาตตามวรรคหนึ่ง
ในการดำเนินการหรืออนุญาตตามวรรคหนึ่ง รัฐต้องระมัดระวังให้เกิดผลกระทบต่อประชาชน ชุมชน สิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพน้อยที่สุด และต้องดำเนินการให้มีการเยียวยาความเดือดร้อนหรือเสียหายให้แก่ประชาชนหรือชุมชนที่ได้รับผลกระทบอย่างเป็นธรรมและโดยไม่ชักช้า
นอกจากนั้น อาจารย์วีรพัฒน์ ยังเสนอว่า อาจจะต้องแก้กฎหมาย พ.ร.บ.ควบคุมอาคารเป็นกรณีพิเศษโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหยุดความเสียหายก่อน สามารถออกบทเฉพาะเป็นกรณีพิเศษหรืองดเว้นความรับผิดทางกฎหมายได้ ถ้าเจรจากันไม่ได้ทางเอกชนต้องไปฟ้องร้องต่อซึ่งอาจจะเกี่ยวกับศาลรัฐธรรมนูญใน มาตรา 58 อ้างสิทธิเสรีภาพที่ประชาชนได้รับผลกระทบ ผู้ซื้อไปร้องผู้ตรวจการแผ่นดินได้เพราะมีความเสียหายเกิดขึ้นแล้ว