รายงานที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 11 เม.ย.โดยโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ระบุว่า เกือบครึ่งของประชากรเมียนมา 54 ล้านคนอยู่ใต้เส้นความยากจน โดย 49.7%มีรายได้ไม่ถึงวันละ 30 บาท ซึ่งตัวเลขนี้เพิ่มขึ้น 2 เท่าจากปี 2017

รายงานระบุว่า 3 ปีให้หลังจากกองทัพเมียนมาก่อรัฐประหารยึดอำนาจ สถานการณ์เศรษฐกิจในเมียนมาตกต่ำลงอย่างรวดเร็วจนถึงจุดที่ว่า ชนชั้นกลางอาจหายไป และหลายครอบครัวอาจต้องลดรายจ่ายเกี่ยวกับอาหาร สุขภาพ และการศึกษา เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นคำพูดจาก สล็อตออนไลน์

ขณะที่ผู้คนอีก 25% ในเมียนมา ใช้ชีวิตอยู่เหนือเส้นความยากจนเพียงเล็กน้อย ในเดือนตุลาคม ปี 2023

ก่อนหน้านี้ เมียนมาประสบความสำเร็จในการลดความยากจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งนับตั้งแต่เริ่มเปลี่ยนผ่านจากการปกครองโดยทหารสู่การเป็นประชาธิปไตยในปี 2011 ที่นำมาซึ่งการปฏิรูปทางเศรษฐกิจและการเมือง

ข้อมูลจากธนาคารพัฒนาเอเชียระบุว่า เมื่อปี 2016 เมียนมามีอัตราขยายตัวเศรษฐกิจสูงที่สุดในภูมิภาค ขณะที่ตัวเลขจากธนาคารโลกระบุว่า ระหว่างปี 2011-2019 เศรษฐกิจเมียนมาเติบโตเฉลี่ยปีละ 6%

โดยเมียนมาสามารถลดอัตราความยากจนจาก 48.2%ในปี 2005 ลงมาเหลือ 24.8% ในปี 2017

แต่การรัฐประหารเมื่อปี 2021 ซึ่งโค่นล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของ อองซาน ซูจี ทำให้เมียนมาตกลงสู่ความไร้เสถียรภาพและความรุนแรง ซึ่งเมื่อรวมกับการระบาดของโควิด-19 แล้ว ทำให้ความสำเร็จที่ผ่านมาย้อนกลับไปหมด

รายงานของ UNDP ยังพบว่า จำนวนคนยากจนไม่ได้เพิ่มขึ้นเท่าตัวเท่านั้น แต่ผู้คนยังยากจนหนักกว่าเดิมด้วย

รายงานฉบับนี้จัดทำขึ้นโดยสัมภาษณ์ชาวเมียนมากว่า 12,000 คน ในช่วง 3 เดือนระหว่างเดือนมิถุนายนและเดือนตุลาคมปีที่แล้ว และเป็นหนึ่งในการสำรวจทั่วประเทศที่ใหญ่ที่สุดในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา

แม้ว่าความยากจนจะกระจายไปทั่วประเทศ แต่ผู้ที่อยู่ในพื้นที่ขัดแย้งกำลังถูกผลักให้ยากจนหนักกว่าเดิม โดยผู้หญิงและเด็กจะได้รับผลกระทบมากกว่ากลุ่มใด ๆ

ตั้งแต่รัฐประหาร กองกำลังต่อต้านรัฐบาลทหารและกองทัพชนกลุ่มน้อยชาติพันธุ์ได้ต่อสู้กับทหารเมียนมามาโดยตลอด เพื่อโค่นล้มกองทัพขณะที่รัฐบาลทหารเมียนมาก็ปราบปรามประชาชนด้วยความรุนแรงมากขึ้น ซึ่งการสู้รบภาคพื้นดิน การโจมตีทางอากาศ และการบุกจู่โจมหมู่บ้านของกองทัพ ได้ทำให้ผู้คนต้องพลัดจากถิ่นที่อยู่แล้วเกือบ 3 ล้านคน

ในรัฐคะยาทางตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีการสู้รบหนักหน่วง ครึ่งหนึ่งของประชากรครัวเรือนระบุว่ามีรายได้ลดลง ซึ่งมากที่สุดในบรรดาพื้นที่ที่สำรวจ

ขณะเดียวกัน รายงานของ UNDP พบว่า แม้แต่ผู้ที่ไม่ได้รับผลกระทบจากการสู้รบก็ได้รับความเดือดร้อนเช่นกัน เนื่องจากค่าเงินจ๊าดของเมียนมาได้ร่วงลง ขณะที่ราคาอาหารและสิ่งของจำเป็นปรับตัวสูงขึ้นคำพูดจาก เว็บสล็อตเว็บตรง

การลงทุนจากต่างประเทศในเมียนมาลดลงอย่างมาก และจำนวนคนว่างงานที่อพยพไปต่างประเทศก็เพิ่มสูงขึ้นเช่นกันรายงานระบุว่า จีดีพีของเมียนมายังไม่สามารถฟื้นตัว นับตั้งแต่ที่ลดลง 18% ในปี 2021 เนื่องจากวิกฤตการเมืองและการระบาดของโควิด-19

ซึ่งหากไม่มีการแทรกแซงโดยทันที วิกฤตมนุษยธรรมในเมียนมาจะเลวร้ายลงแบบทวีคูณ และผลกระทบต่อการพัฒนาจะส่งผลไปหลายชั่วอายุคน

By admin